วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติเมืองแพร่

จังหวัดแพร่ ได้ชื่อว่าเป็นประตูเมืองสู่ล้านนา เดิม เป็นนครรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ก่อนการสถาปนา อาณาจักรล้านนา จากหลักฐานต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจังหวัดแพร่นั้นมีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัย เช่น “เมืองพล” เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด จากการพบหลักฐาน ในตำนานทางเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 “เมือง โกศัย” เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเชียงแสน“เมือง เพล” เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ “เมืองแพร่” เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใช้เรียกเมืองแพล แต่ได้กลายเสียง เป็นเมืองแพร่จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดแพร่ ได้ค้นพบหลักฐานว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด ในเขตอำเภอ ลองอำเภอวังชิ้น เป็นต้น และที่อำเภอสองยังมีประวัติเกี่ยวกับเมืองเวียงสรองที่เป็นเมืองโบราณในวรรณคดี เรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี



                       
เมืองแพร่ หรือเมืองแป้ เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองหรือจารึกไว้ในที่ใดๆโดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย เช่น หลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล"
                        ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. 1470 - 1540 นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา   และได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า "เมืองพล" และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น "แพร่" ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า "แป้" 

เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1654-พ.ศ. 1773
                   พงศาวดาร โยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า "จุลศักราช 461 (พ.ศ. 1654) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ 3 ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง" พอขุนเจื๋องอายุได้ 16 ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่า "พละเทวะ" ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง 
                  เมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช 421 - 461 (พ.ศ. 1614 - 1654) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วย   ในระหว่าง พ.ศ. 1655 - พ.ศ. 1773 เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัย นคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น 


          เมืองแพร่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี     พ.ศ.๑๔๗๐-๑๕๖๐     พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนครหรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง โดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ (เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑๘) เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ข้าหลวงคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้น โดยึดสถานีตำรวจ ศาลากลางจังหวัด ปล้นเงินคลัง และปล่อยนักโทษออกจากคุก พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยว จับตัวและบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น