วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนะนำตัวเอง




ชื่อ นางสาวชุติกาญจน์ โลกคำลือ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขานิติศาตร์
รหัสประจำตัว 55322905
หมู่เรียน นต.55.002

ตราสัญลักษณ์จังหวัดแพร่/คำขวัญ/แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดแพร่

ไฟล์:Seal Phrae.png

         หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง       ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม






                    
                    
      

ประวัติเมืองแพร่

จังหวัดแพร่ ได้ชื่อว่าเป็นประตูเมืองสู่ล้านนา เดิม เป็นนครรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ก่อนการสถาปนา อาณาจักรล้านนา จากหลักฐานต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจังหวัดแพร่นั้นมีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัย เช่น “เมืองพล” เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด จากการพบหลักฐาน ในตำนานทางเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 “เมือง โกศัย” เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเชียงแสน“เมือง เพล” เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ “เมืองแพร่” เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใช้เรียกเมืองแพล แต่ได้กลายเสียง เป็นเมืองแพร่จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดแพร่ ได้ค้นพบหลักฐานว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด ในเขตอำเภอ ลองอำเภอวังชิ้น เป็นต้น และที่อำเภอสองยังมีประวัติเกี่ยวกับเมืองเวียงสรองที่เป็นเมืองโบราณในวรรณคดี เรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี



                       
เมืองแพร่ หรือเมืองแป้ เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองหรือจารึกไว้ในที่ใดๆโดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย เช่น หลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล"
                        ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. 1470 - 1540 นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา   และได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า "เมืองพล" และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น "แพร่" ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า "แป้" 

เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1654-พ.ศ. 1773
                   พงศาวดาร โยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า "จุลศักราช 461 (พ.ศ. 1654) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ 3 ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง" พอขุนเจื๋องอายุได้ 16 ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่า "พละเทวะ" ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง 
                  เมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช 421 - 461 (พ.ศ. 1614 - 1654) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วย   ในระหว่าง พ.ศ. 1655 - พ.ศ. 1773 เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัย นคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น 


          เมืองแพร่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี     พ.ศ.๑๔๗๐-๑๕๖๐     พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนครหรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง โดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ (เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑๘) เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ข้าหลวงคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้น โดยึดสถานีตำรวจ ศาลากลางจังหวัด ปล้นเงินคลัง และปล่อยนักโทษออกจากคุก พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยว จับตัวและบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย


ทำไมจังหวัดแพร่เขาเรียกว่าแพร่แห่ระเบิด

แพร่แห่ระเบิด

      คือมีครั้งหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง นายหลง มโนมูล คนงานรถไฟสถานีแก่งหลวงได้ไปพบลูกระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่นำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัยกับสถานี รถไฟบ้านปินอำเภอลอง)เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่สอง(พ.ศ.2485 - 2488)เป็นคนแรกซึ่งนำระเบิดด้าน(ไม่ระเบิด)จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานจึงได้ไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟสถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ นายชุม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุดขึ้นจากหลุมทรายที่ทับถมอยู่มีจำนวน 2 ลูก(มีขนาดความโตกว่าถังแก๊สชนิดยาว)และทำการถอดชนวนระเบิด แล้วใช้เรื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิด ล้วงเอาดินระเบิดออกแล้วเอาดินระเบิดที่ล้วงออกมาได้ นำไปประกอบสร้างระเบิดลูกเล็กๆ ขึ้นใหม่ได้หลายลูก แล้วนำไประเบิดปลาที่แม่น้ำยมได้ปลามากินมากมาย ความหนักของลูกระเบิดที่นำขึ้นบรรทุกล้อ(เกวียน)ถึงกับทำให้ซ้าวล้อ(คานของเกวียน)หักต้องเปลี่ยนใหม่ ส่วนระเบิดลูกที่สามช่วยกันขุดด้วยแรงคนไม่ได้เพราะจมอยู่ในหลุมทรายลึกมากจึงได้ไปตาม นาย บุญมา อินปันตี ซึ่งเป็นเจ้าของช้างลากไม้อยู่บริเวณใกล้เคียงให้นำช้างมาลากลูกระเบิดขึ้นจากหลุมทรายได้ทำการถอดชนวนและล้วงเอาดินระเบิดออกมาสมถบกับสองลูกที่นำมาก่อนแล้วที่บ้านแม่ลู้ ต.บ้านปิน จากนั้นก็ลากโดยบรรทุกบนล้อ(เกวียน) มุ่งเข้าสู่หมู่บ้าน ชาวบ้านสองข้างทางทราบข่าว และเห็นล้อ บรรทุกลูกระเบิดตามกันมา 3 คัน ต่างก็เดินตามกันมาเป็นขบวนยาว ผ่านหน้าบ้านผู้ใด ต่างก็เดินเข้ามาสมทบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย จนมาถึงบ้านแม่ลานเหนือใกล้วัด ชาวบ้านยิ่งออกมาดูกันมากขึ้น ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่บ้านอยู่ใกล้วัดได้นำฆ้อง-กลองยาว ฉิ่ง-ฉาบ ออกมาต้อนรับขบวนแห่ เหมือนกับการต้อนรับขบวนกฐิน หรือผ้าป่าทำนองนั้น แล้วแห่เข้าวัด ทำการถวายลูกระเบิดให้เป็นสมบัติของวัดเพื่อใช้เป็นระฆัง ส่วนระเบิดลูกที่ 2 ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ สำหรับระเบิดลูกที่ 3 ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดนาตุ้ม ต.บ่อทองลอง ปัจจุบัน (พ.ศ.2553) ระเบิดลูกที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ ระเบิดลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ ส่วนระเบิดลูกที่ 3 เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ต.บ่อทองลอง ทางวัดได้สร้างหอระฆังสูงไว้รองรับสวยงามมาก แต่หลังจากมีผู้นิยมเล่นของเก่าชนิด หายากและแปลก ๆ ได้มาขอซื้อโดยเสนอราคาให้ถึง 1 ล้านบาท ชาวบ้านเห็นว่ามีราคามากจึงมีมติไม่ขายและเกิดหวงแหนเห็นคุณค่า เกรงจะถูกลักขโมยจึงได้สร้างห้องลูกกรงเหล็กดัดล้อมไว้

  
สะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า

     ดังนั้นแม้ว่าระเบิดที่ถวายวัดทำระฆังทั้ง 3 ลูกของเมืองลอง คือ วัดพระธาตุศรีดอนคำ วัดแม่ลานเหนือ และวัดนาตุ้ม (และอีก 1 ลูกที่วัดพระธาตุไฮสร้อย) จะไม่ใช่ที่มาของคำกล่าวล้อเลียน “เมืองแพร่แห่ระเบิด” แต่คุณค่าก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย ตรงกันข้ามกลับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนรุ่นก่อน และแสดงถึงความเชื่อศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนภายในท้องถิ่น ตลอดจนถึงผู้สนใจที่จะมาศึกษาเที่ยวชมได้ แต่ที่สำคัญขึ้นอยู่กับว่า “เรา” จะศึกษาและทำความเข้าใจกับมรดกชิ้นนี้ได้ลึกซึ้งและดีแค่ไหน ก่อนที่จะทำการเผยแพร่เรื่องราวออกสู่สาธารณชนในสังคมวงกว้าง ตั้งแต่ระดับ“ท้องถิ่น(ภาคเหนือ)”“ประเทศไทย”และ “อาเซียน”ต่อไป




            
ระฆังทำจากลูกระเบิดของวัดนาตุ้ม



   
วัดแม่ลานเหนือ

วัดพระธาตุศรีดอนคำ

วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่


พระธาตุช่อแฮ(พระธาตุประจำปีขาล)

 


















วัดพระธาตุช่อแฮ   จังหวัดแพร่

                พระธาตุช่อแฮ  พระธาตุศักดิ์สิทธิ์เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่มาแต่โบราณ  เป็นพระบรมธาตุที่บรรจุพระเกศา และพระบรมสารีริกธาตุส่วนข้อศอกซ้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตามคติความเชื่อของทางภาคเหนือนั้นยังถือเป้นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล   หรือปีเสืออีกด้วย

                ประวัติแห่งพระธาตุช่อแฮนั้นกล่าวไว้หลากหลายตำนานด้วยกัน   ตำนานหนังสือพระเจ้าเหยียบโลกกล่าวว่า  ขุนลัวะอ้ายก๊อมได้รับพระธาตุเกศาจากพระพุทธเจ้าขณะเสด็จประทับ  ณ  ดอยโกสิยธชค เมืองพล(แพร่) ซึ่งได้สั่งให้นำไปเก็บไว้ที่ถ้ำใกล้บริเวณนี้  ในครั้งนั้นพระพุทธองค์รับสั่งไว้ด้วยว่าเมื่อทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วให้นำพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ที่สถานที่แห่งนี้  จนกว่าจะสิ้นอายุพระพุทธศาสนาห้าพันปี ส่วนหลักฐานประวัติศาสตร์ตามพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย   กล่าวว่าพระธาตุช่อแฮนั้นได้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1879 -1881 ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)  ทรงเป็นพระมหาอุปราชาปกครองเมืองศรีสัชนาลัย  พระธาตุแห่งนี้ได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านครแพร่ทุกพระองค์เรื่อยมา  ครูบาศรีวิชัยผู้เป็นนักบุญสำคัญแห่งล้านนายังเคยได้มาปฏิสังขรณ์พระธาตุองค์นี้มาแล้ว


เทศกาล งานประเพณี  งานไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่ แห่ตุงหลวงจัดเป็นประจำทุกปี   วันแรกของานจะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 - 15 ค่ำ เดือน 4  ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม มีขบวนแห่งตุงหลวงถวายองค์พระธาตุและมหรสพตลอดงาน

สถานที่ตั้ง
 ถ.ช่อแฮ  ต.ช่อแฮ  อ.เมือง  จ.แพร่   ห่างจากตัวเมืองประมาณ   8  กม.

ความเชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุช่อแฮ    เป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (เสือ)  ว่ากันว่าหากนำผ้าแพรเนื้อดีไปถวายองค์พระธาตุช่อแฮ   จะทำให้มีแต่ความผาสุก มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหน้าที่การงานและคุ้มครองป้องกันศัตรู  สำหรับคนทั่วไปเชื่อว่าการสวดบูชาพระธาตุจะช่วยดลบันดาลให้มีชีวิตที่ดีขึ้น  สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการไปกราบหลวงพ่อทันใจ  ซึ่งถือว่าเป้ฯพระพุทธรูปทีมีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง และเชื่อว่าผู้ใดมาขอพรแล้วมักจะได้สมดังใจปรารถนา


 108 เส้นทางออมบุญ
ออมบุญเพื่อสิริมงคลแห่งชีวิต (ภาคเหนือ)
วัดพระธาตุช่อแฮ   แพร่


วนอุทยานแพะเมืองผี อ.เมือง จ.แพร่

วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่





      แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ..........."แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมาว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"







การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ 15 กิโลเมตร 

ถ้ำผานางคอย อ.ร้องกวาง จ.แพร่

ถ้ำผานางคอย
ถ้ำผานางคอยอยู่ที่บ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง เป็นถ้ำธรรมชาติขนาดใหญ่นี้มีความสวยงาม ถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนผาสูงประมาณ 50 เมตร หน้าถ้ำมีลานหินกว้าง ตัวถ้ำมีความลึก ที่มีลักษณะยาวขนานไปในระดับพื้นดินประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร ภายในถ้ำเป็นพี้นดินเรียบ บางตอนมีเหวลึก ผนังถ้ำมีหินงอก หินย้อยที่สวยงาม ส่งแสงสะท้อนเป็นประกายระยิบระยับ เมื่อต้องแสงสว่างไปตลอดความยาวของถ้ำ เมื่อเกือบถึงปากสุดของถ้ำที่ทะลุมีทางออกกว้าง ปริเวณกลางถ้ำมีหินงอกขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายผู้หญิงอุ้มลูกไว้ในอ้อมแขน เรียกว่า ผานางคอย เป็นจุดสำคัญของถ้ำนี้




การเดินทาง
อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ - ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข 101)ถึงกิโลเมตรที่ 58 - 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร

น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง อ.วังชิ้น จ.แพร่

น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง

     น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง และแม่เกิ๋งน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามและมีชื่อเสียงของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โดยน้ำตกนั้นไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ มี 7 ชั้นคล้ายขั้นบันไดลงมาจากดอยแม่เกิ๋ง คำว่า “แม่เกิ๋ง” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ขั้นบันได”
     น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนน้ำตกแม่เกิ๋งน้อยต้องเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่ น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง อำเภอวังชิ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่สิน น้ำตกแม่จอก น้ำตกแม่ป้าก น้ำตกแม่รัง น้ำตกขุนห้วย
การเดินทาง  อยู่ภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยห่างจากที่ทำการอุทยานไป 900 เมตร

อุทยานลิลิตพระลอ อ.สอง จังวัดแพร่


  

อุทยานแห่งชาติแก่งเสือเต้น อ.สอง จ.แพร่

อุทยานแห่งชาติแก่งเสือเต้น

แก่งเสือเต้น เป็นชื่อโขดหินที่เป็นเกาะแก่งขวางแม่น้ำยม ช่วงไหลผ่านอุทยานแห่งชาติแม่ยม มีความยาวราว 2 กิโลเมตร เขต ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่    ชื่อแก่งเสือเต้น ได้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทำให้มีรอยตีนเสืออยู่บนโขดหินก้อนหนึ่งบนหาดทรายริมน้ำ จากนั้นคนเลยเรียกขานกันต่อๆ มาว่า แก่งเสือเต้น ป่าแม่ยมที่แก่งเสือเต้น เป็นแหล่งสุดท้ายที่มีไม้สักทองธรรมชาติผืนใหญ่ที่สุด








วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม อ.เด่นชัย จ.แพร่

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม
       วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี เป็นวัดที่สวยงามตามลักษณะของสถาปัตยกรรมล้านนาแบบผสมผสาน ที่หลวงพ่อมนตรีได้จำลองรูปแบบมาจากวัดสำคัญๆของภาคเหนือ และจากประเทศอื่นได้แก่ พม่า จีน และลาว โดยเลือกเอา จุดเด่นของแต่ละแห่งมารวบรวมไว้ที่วัดนี้

สถานที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสี่แยกเด่นชัยประมาณ 5
กม. อยู่ห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่



    











การเดินทาง
ใช้เส้นทางอุตรดิตถ์-แพร่ ไปถึงสามแยก แม่จั๊ว ถ้าเลี้ยวซ้ายไปสูงเม่น ให้เลี้ยวขวา ไปทางลำปาง จากแยกไปประมาณ 10 กิโลเมตร จะเห็นวัดอยู่ทางด้านซ้ายติดถนน